19 มกราคม 2555

(ต่อ)สรุปตอนที่ 1 สาระเบื้องต้นของอาชีวศึกษา

บทที่3  วิวัฒนาการของอาชีวศึกษา

   การอาชีวศึกษาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นการจัดการศึกษาที่ยังไม่เป็นระบบ ส่วนใหญ่ศึกษาตามวัด วัง และบ้าน เป็นการศึกษาที่ไม่มีบทเรียน แต่เน้นการใช้ประสบการณ์(Experential Learning) และการสืบทอดจากรุ่นลูกจนถึงรุ่นหลาน และมีการปรับเปลี่ยนอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการศึกาาให้เข้าสู่ระบบ การอาชีวศึกษาจึงได้จัดขึ้นเป็นระบบตามแผนการศึกษาแห่งชาติ และมีการพัฒนา ให้ความสำคัญเมื่อเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 1-9 โดยเฉพาะฉบับที่ 9 เป็นการเน้นการสร้างอาชีพเพื่อการดำรงชีพและยกระดับฐานะในสังคมต่อไป    นอกจากนี้ การอาชีวศึกษาในแต่ละสมัยนั้นแต่งต่างกันออกไป เช่น
-สมัยสุโขทัย จะได้เรียนรู้มาจากครอบครัว ครอบครัวประกอบอาชีพใด ลูกหลานก็จะมีความรู้ในเรื่องนั้นและประกอบอาชีพนั้นตามไปด้วย
- สมัยกรุงธนบุรี สมัยนี้เน้นเกี่ยวกับการปกป้องประเทศมากกว่า ไม่นิยมสนใจในเรื่องของอาชีพมากนัก -- สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  สมัยนี้การอาชีวศึกษาไม่ได้แยกออกมาอย่างเด่นชัดมากนัก แต่เป็นการเรียนหนังสือกับการสอนวิชาเพื่อประกอบอาชีพควบคู่กันไป โดยมีกษัตริย์เป็นผู้สนับสนุน
-สมัยรัชกาลที่5 ภายหลังการเปลี่ยนแปลง-ปัจจุบัน   มีการเรียนการสอนในขั้นเตรียมอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย โดยที่การอาชีวศึกษาก็ได้มีการจัดการเรียนการสอนในขั้นอุดมศึกษาด้วย 
   -ปัจจุบัน การปกครอง โดยคณะราษฎร์ ได้พูดถึง ประกาศหลัก6 ประการเป็นการบริหารประเทศ จากแผนการศึกษา พ.ศ.2548 มีการเรียนการสอนในขั้นเตรียมอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยโดยที่การอาชีวศึกษาก็ได้มีการจัดการเรียนการสอนในขั้นอุดมศึกษานี้ด้วย

  
                                                                                                                                                                                                                                                                   
บทที่4  หลักการและทฤษฎีของอาชีวศึกษา
หลักการอาชีวศึกษา
1.ความเป็นมนุษย์มากกว่าทักษะแบบเครื่องจักรกล
2.ความเชื่อมโยงระหว่างวิชาชีพกับวิชาพื้นฐาน
3.ความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ
4.โอกาสของการเปลี่ยนสาขาหรือการศึกษาต่อ


ทฤษฎีอาชีวศึกษาของ Prosser และ Quigley
1. จัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนให้เหมือนกับสถานที่ทำงานจริง
2.สอนกระบวนการ การใช้เครื่องมือและเครื่องจักร ให้เหมือนกับที่ใช้ในการทำงานจริง และผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในการทำงานนั้นมาก่อน
3.ฝึกฝนให้ผู้เรียนมีอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ และมีทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับแต่ ละสาขาอาชีพ โดยควรคำนึงถึงระยะเวลาในการฝึกฝนที่เพียงพอกับการสร้างอุปนิสัยดังกล่าว
4.คำนึงถึงความสนใจ ความถนัด เชาว์ปัญญาของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพของ ตนเองได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน
5. ควรมุ่งเฉพาะกลุ่มผู้สนใจจริง หรือกลุ่มผู้ที่มีความสามารถใช้วิชาชีพนั้นๆ ที่ได้เรียนมาในการพัฒนางานอาชีพของตนเองได้
6.ฝึกฝนทักษะอาชีพบ่อยๆ และมากเพียงพอที่จะสร้างอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหา และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในสายงานอาชีพ
7. ผู้สอนควรมีประสบการณ์การทำงานจริงมาก่อนในสาขาอาชีพที่ตนสอน ทั้งด้านทักษะการปฏิบัติ และความรู้
8. สามารถสร้างคนให้มีความสามารถ บุคลิกภาพ และคุณธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้างและตลาดแรงงานบทที่ 2 ระบบสารสนเทศในองค์กร 35
9. คำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและชุมชนเป็นหลัก ถึงแม้ว่าการฝึกอบรมอาชีพบางประเภทจะมีความน่าสนใจ
10.ฝึกฝนทักษะวิชาชีพให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาตามสภาพที่เป็นจริง
11.ให้ข้อมูล ความรู้ที่เชื่อถือได้สำหรับการฝึกฝนอาชีพ และต้องมาจากประสบการณ์ของผู้รอบรู้ในอาชีพนั้น ๆ เท่านั้น
12. ควรคำนึงถึงเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่นำมาสอน ต้องให้สอดคล้องและใช้ประโยชน์ได้ในสาขาอาชีพนั้น ๆ เนื่องจากในทุก ๆ สาขาอาชีพต่างมีเนื้อหาความรู้เฉพาะ
13. ควรจัดการศึกษาให้ตรงกับตามความต้องการของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาที่เขาต้องการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทันต่อความ ต้องการ ซึ่งจะส่งผลดีโดยรวมต่อสังคม
14.ควรให้ความสำคัญกับความสนใจ ความถนัด และความสามารถของแต่ ละคน ที่เหมาะสมกับการเรียนในแต่ ละสาขาอาชีพ มากกว่าระดับคะแนน หรือระดับไอคิวของผู้เรียน และควรมีกระบวนการแนะแนวที่เหมาะสม
15.ควรมีความยืดหยุ่นสำหรับโครงสร้างของเนื้อหาหลักสูตร และการสอน ไม่ควรยึดโครงสร้างที่ตายตัวและไม่ ปรับตัว เพราะสาขาอาชีพและเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
16.ควรมีความพร้อมของงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาเนื่องจากต้องใช้ต้นทุน ต่อหัวของผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมาก และเน้นผลิตคนให้มีคุณภาพ มิฉะนั้นจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น