19 มกราคม 2555

สรุปตอนที่ 1 สาระเบื้องต้นของอาชีวศึกษา

บทที่1  บทนำ : แนวคิดของอาชีวศึกษา   อาชีวศึกษาเกิดขึ้นครั้งแรกทั้งในไทยและสากล แรกเริ่มเกิดขึ้นที่เป็นการศึกษานอกระบบ เป็นการเรียนที่ไม่มีแบบแผน เนื้อหาความรู้เพื่อการยังชีพ จะถ่ายทอดสู่รุ่นต่อรุ่น แต่ต่อมาเริ่มเป็นระบบมากขึ้น มีการจัดประเภท แยกสาขา และได้มีหน่วยงานเข้ามาวางนโยบายกำกับดูแลการดำเนินงานของหน่วยงานได้ชัดเจนมากขึ้น
  ถ้าถามว่าอาชีวศึกษานั้นคืออะไร หลายคนคงตอบว่า คือ "การเรียนที่ทำให้มีอาชีพ นั่นแหละอาชีวศึกษา"  ความหมายของอาชีวศึกษานั้นยังไม่ลงตัว แม้แต่นักอาชีวศึกษาเองก็ให้คำตอบได้ไม่ตรงกัน
แต่มีข้อสังเกตที่ทำให้อาชีวศึกษา ต่างจากการประกอบอาชีพ คือ ระดับของการศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม อาจจำแนกความหมายของอาชีวศึกษาออกเป็น 4 ประการสำคัญๆ คือ

1.เป็นการศึกษาที่จัดขึ้นเพิ่มเติมจากการศึกษาสายสามัญ
2.เป็นการศึกษาเพื่อประกอบอาชีพ
3.เป็นการศึกษาที่เน้นความสำคัญของการฝึกหัด
4.เป็นการศึกษาที่ต้องมีความเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับสามัญศึกษา
    อาชีวศึกษาไม่ใช่การเรียนเพื่อการประกอบอาชีพเพียงเท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะที่ใช้ในการดำรงชีวิต การติดต่อสื่อสาร และทักษะที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกันในสังคม เพราะ อาชีวศึกษาจัดขึ้นสำหรับทุกคน แต่มีรูปแบบของการรับรู้แตกต่างกัน บางคนอาจเรียนเพื่อเป็นอาชีพ ในนขณะที่บางคนอาจเรียนเพียงเพราะสนใจ อยากรู้ หรืออยากที่จะทำเองเป็น เช่น การเพาะเห็ด  การทำขนม
เป้าหมายของอาชีวศึกษา คือ เพื่อสร้างให้ผู้เรียนมีความสามารถในการทำงานได้ โดยต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1.ความเป็นเอกในการแข่งขัน
2.ผลิตผลงานที่มีคุณภาพ
3.มีทักษะปฎิรูปแบบผสมผสาน
4.มีคุณค่าและจริยธรรม 
5.เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
6.ตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 
ซึ่งคุณสมบัติข้างต้นทำให้เกิดเป้าหมายที่แท้จริงของอาชีวศึกษา ที่ว่า
" ทักษะเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม ล้ำเลิศวิชา ใช้เวลาให้เกิดคุณ"

บทที่ 2   หลักสูตรสมัยหิน : กรณีศึกษาเพื่อการนิยามความหมายที่พึงประสงค์ของ"อาชีวศึกษา"
- การจัดการศึกษาของคนในยุคค้อนใหม่ สร้างระบบการศึกษาโดยเริ่มจากการเปรียบเทียบระหว่างกิจกรรมของเด็กและผู้ใหญ่ เมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้น ก็จะมีเนื้อกินอย่างเพียงพอ มีหนังสัตว์นุ่งห่ม และมีถ้ำอยู่อย่างสบาย จึงเป็นที่มาของการกำหนดรายวิชาที่ต้องเรียนในสมัยหินยุคค้อนใหม่

- ปรัชญาและแนวคิดของการจักหลักสูตรยุคค้อนใหม่ ทำให้มี 3 วิชาเกิดขึ้น ดังนี้
1.วิชาจับปลาด้วยมือเปล่า เรียนเพื่อหาเนื้อสัตว์มาบริโภต
2.วิชาใช้กระบองทุบหัวม้าแกลบ เรียนเพื่อให้ได้มาซึ่งเนื้อและหนังสัตว์มาสำหรับนุ่งห่ม
3.วิชาใช้ไฟไล่เสือ เรียนเพื่อขับไล่ภัยอันตรายจากสัตว์ร้าย
-เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปเนื่องจากสภาพของธรรมชาติ ทำให้เกิด 3 วิชาใหม่ คือ
1.วิชาใช้สวิงจับปลา
2.วิชาใช้แร้วดักเลียงผา
3.วิชาขุดหลุมดักหมี
เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย จึงเกิดข้อวิจารณ์ว่าทำไม่ไม่สอนวิชานี้ในโรงเรียน ทั้งๆที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ในขณะที่ยังสอบวิชาเดิมๆให้แก่เด็กๆในโรงเรียน แต่ผู้อาวุธโสที่คุมนโยบายการศึกษาให้คำอธิบายว่า วิชาใหม่ 3 วิชานี้ คือ อาชีพการศึกษา วิชาเดิม คือ การศึกษา เพราะ เป็นการวางรากฐานที่ดีให้แก่เยาวชนของเผ่า
-จากข้อความข้างต้น ทำให้ อาชีวศึกษา = การศึกษา + อาชีพศึกษา โดยคำว่า การศึกษา หมายถึง สิ่งที่ได้เตรียมจัดให้ไว้กับผู้เรียนโดยมีวัตถุประสงค์ชัดเจนไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งก็เปรียบเสมือนวิชาเก่า ในขณะที่ อาชีพศึกษานั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอด ตามเทคโนโลยีที่เข้ามา ส่วนการศึกษา นั้นอาจเรียกว่าเป็น General Education/การศึกษาทั่วไป จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกหลักสูตร
-'แก่นแท้ของการศึกษาไม่มีวันล้าสมัย เปรียบประดุจผาหิน ซึ่งยืนตระหง่านได้อย่างมั่นคง " หมายถึง การจัดการศึกษาสายอาชีพนั้น มิใช่ให้แต่สาระหรือทักษะเพื่อการประกอบอาชีพแต่เพียงอย่างเดียว ต้องเสริมสร้างเรื่อง คุณธรรม จริยธรรมเข้าไปด้วย โดยอาจแทรกไปในกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้เรียนที่มีความคิดเป็นเหตุเป็นผล วางแผนได้ แก้ปัญหาเป็น มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ก็คือ แก่นแท้ของการศึกษา ที่ไม่มีวันล้าสมัย และหนักแน่ดุจผาหิน

1 ความคิดเห็น: