19 มกราคม 2555

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)

วันนี้อาจารย์ได้สอนและให้ค้นหาความรู้เรื่องของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  ว่าทั้งหมดนั้นมีกี่แห่ง และประกอบไปด้วยที่ใดบ้าง ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

      สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ดำเนินการในการผลิตและพัฒนากำลังคน เพื่อสนองตอบความต้องการกำลังคนในการพัฒนาประเทศ โดยในปี 2551 ได้สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับการอาชีวศึกษา เพื่อสร้างความนิยมในการเรียนวิชาชีพให้กับสังคม มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มปริมาณผู้เรียน ในขณะเดียวกันได้ใช้กิจกรรมการบริการสังคมในโครงการและวาระพิเศษต่างๆเพื่อให้สังคมได้รับรู้ถึงศักยภาพของผู้เรียนอาชีวศึกษา และเป็นการสร้างประสบการณ์ให้กับผู้เรียนทั้งในด้านการฝึกงานวิชาชีพและปลูกฝังสำนึกการบริการสังคม นอกจากนี้ได้เน้นเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนให้เข้ามาร่วมรับผิดชอบและมีบทบาทในการจัดการอาชีวศึกษาร่วมกันมากขึ้น ผลการดำเนินการดังกล่าวในปี 2551 ช่วยทำให้การอาชีวศึกษาเป็นที่รู้จักกับสังคมมากขึ้น และกลุ่มเป้าหมายต่างต้องการเข้าสู่ระบบอาชีวศึกษา ดังนั้นในปี2552 นี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จึงต้องการที่จะพัฒนาด้านคุณภาพให้เพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับปริมาณผู้เรียน และขยายบทบาทการจัดการอาชีวศึกษาสำหรับผู้เรียนที่เป็นผู้มีงานทำแล้ว ผู้ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพ และผู้ที่กำลังหางานทำให้มากขึ้น และให้ความสำคัญกับการค้นหา พัฒนา เผยแพร่ นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อสร้าง และพัฒนาอาชีพให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ จึงได้กำหนดแผนปฏิบัติราชการในปีงบประมาณ 2552 ไว้ดังนี้

วิสัยทัศน์
       สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นองค์กรหลักที่มุ่งมั่นผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

พันธกิจของ 
• จัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพให้มีคุณภาพมาตรฐาน
• ขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพ อย่างทั่วถึงและเสมอภาค 
• วิจัย สร้างนวัตกรรม พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาอาชีพ
 
สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีจำนวน 415 แห่ง ประกอบด้วย

1. วิทยาลัยเทคนิค110 แห่ง
2. วิทยาลัยอาชีวศึกษา36 แห่ง
3. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี43 แห่ง
4. วิทยาลัยสารพัดช่าง53 แห่ง
5. วิทยาลัยการอาชีพ 142 แห่ง
6. วิทยาลัยพณิชยการ5 แห่ง
7. วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการต่อเรือ3 แห่ง
8. วิทยาลัยศิลปหัตกรรม2 แห่ง
9. วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยว3 แห่ง
10. วิทยาลัยประมง4 แห่ง
11. กาญจนาภิเษกวิทยาลัยช่างทองหลวง 1 แห่ง
12. วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ11 แห่ง
13. วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์   1 แห่ง
14. ศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตร1 แห่ง


ตราสัญลักษณ์



สรุปตอนที่ 1 สาระเบื้องต้นของอาชีวศึกษา

บทที่1  บทนำ : แนวคิดของอาชีวศึกษา   อาชีวศึกษาเกิดขึ้นครั้งแรกทั้งในไทยและสากล แรกเริ่มเกิดขึ้นที่เป็นการศึกษานอกระบบ เป็นการเรียนที่ไม่มีแบบแผน เนื้อหาความรู้เพื่อการยังชีพ จะถ่ายทอดสู่รุ่นต่อรุ่น แต่ต่อมาเริ่มเป็นระบบมากขึ้น มีการจัดประเภท แยกสาขา และได้มีหน่วยงานเข้ามาวางนโยบายกำกับดูแลการดำเนินงานของหน่วยงานได้ชัดเจนมากขึ้น
  ถ้าถามว่าอาชีวศึกษานั้นคืออะไร หลายคนคงตอบว่า คือ "การเรียนที่ทำให้มีอาชีพ นั่นแหละอาชีวศึกษา"  ความหมายของอาชีวศึกษานั้นยังไม่ลงตัว แม้แต่นักอาชีวศึกษาเองก็ให้คำตอบได้ไม่ตรงกัน
แต่มีข้อสังเกตที่ทำให้อาชีวศึกษา ต่างจากการประกอบอาชีพ คือ ระดับของการศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม อาจจำแนกความหมายของอาชีวศึกษาออกเป็น 4 ประการสำคัญๆ คือ

1.เป็นการศึกษาที่จัดขึ้นเพิ่มเติมจากการศึกษาสายสามัญ
2.เป็นการศึกษาเพื่อประกอบอาชีพ
3.เป็นการศึกษาที่เน้นความสำคัญของการฝึกหัด
4.เป็นการศึกษาที่ต้องมีความเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับสามัญศึกษา
    อาชีวศึกษาไม่ใช่การเรียนเพื่อการประกอบอาชีพเพียงเท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะที่ใช้ในการดำรงชีวิต การติดต่อสื่อสาร และทักษะที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกันในสังคม เพราะ อาชีวศึกษาจัดขึ้นสำหรับทุกคน แต่มีรูปแบบของการรับรู้แตกต่างกัน บางคนอาจเรียนเพื่อเป็นอาชีพ ในนขณะที่บางคนอาจเรียนเพียงเพราะสนใจ อยากรู้ หรืออยากที่จะทำเองเป็น เช่น การเพาะเห็ด  การทำขนม
เป้าหมายของอาชีวศึกษา คือ เพื่อสร้างให้ผู้เรียนมีความสามารถในการทำงานได้ โดยต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1.ความเป็นเอกในการแข่งขัน
2.ผลิตผลงานที่มีคุณภาพ
3.มีทักษะปฎิรูปแบบผสมผสาน
4.มีคุณค่าและจริยธรรม 
5.เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
6.ตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 
ซึ่งคุณสมบัติข้างต้นทำให้เกิดเป้าหมายที่แท้จริงของอาชีวศึกษา ที่ว่า
" ทักษะเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม ล้ำเลิศวิชา ใช้เวลาให้เกิดคุณ"

บทที่ 2   หลักสูตรสมัยหิน : กรณีศึกษาเพื่อการนิยามความหมายที่พึงประสงค์ของ"อาชีวศึกษา"
- การจัดการศึกษาของคนในยุคค้อนใหม่ สร้างระบบการศึกษาโดยเริ่มจากการเปรียบเทียบระหว่างกิจกรรมของเด็กและผู้ใหญ่ เมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้น ก็จะมีเนื้อกินอย่างเพียงพอ มีหนังสัตว์นุ่งห่ม และมีถ้ำอยู่อย่างสบาย จึงเป็นที่มาของการกำหนดรายวิชาที่ต้องเรียนในสมัยหินยุคค้อนใหม่

- ปรัชญาและแนวคิดของการจักหลักสูตรยุคค้อนใหม่ ทำให้มี 3 วิชาเกิดขึ้น ดังนี้
1.วิชาจับปลาด้วยมือเปล่า เรียนเพื่อหาเนื้อสัตว์มาบริโภต
2.วิชาใช้กระบองทุบหัวม้าแกลบ เรียนเพื่อให้ได้มาซึ่งเนื้อและหนังสัตว์มาสำหรับนุ่งห่ม
3.วิชาใช้ไฟไล่เสือ เรียนเพื่อขับไล่ภัยอันตรายจากสัตว์ร้าย
-เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปเนื่องจากสภาพของธรรมชาติ ทำให้เกิด 3 วิชาใหม่ คือ
1.วิชาใช้สวิงจับปลา
2.วิชาใช้แร้วดักเลียงผา
3.วิชาขุดหลุมดักหมี
เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย จึงเกิดข้อวิจารณ์ว่าทำไม่ไม่สอนวิชานี้ในโรงเรียน ทั้งๆที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ในขณะที่ยังสอบวิชาเดิมๆให้แก่เด็กๆในโรงเรียน แต่ผู้อาวุธโสที่คุมนโยบายการศึกษาให้คำอธิบายว่า วิชาใหม่ 3 วิชานี้ คือ อาชีพการศึกษา วิชาเดิม คือ การศึกษา เพราะ เป็นการวางรากฐานที่ดีให้แก่เยาวชนของเผ่า
-จากข้อความข้างต้น ทำให้ อาชีวศึกษา = การศึกษา + อาชีพศึกษา โดยคำว่า การศึกษา หมายถึง สิ่งที่ได้เตรียมจัดให้ไว้กับผู้เรียนโดยมีวัตถุประสงค์ชัดเจนไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งก็เปรียบเสมือนวิชาเก่า ในขณะที่ อาชีพศึกษานั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอด ตามเทคโนโลยีที่เข้ามา ส่วนการศึกษา นั้นอาจเรียกว่าเป็น General Education/การศึกษาทั่วไป จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกหลักสูตร
-'แก่นแท้ของการศึกษาไม่มีวันล้าสมัย เปรียบประดุจผาหิน ซึ่งยืนตระหง่านได้อย่างมั่นคง " หมายถึง การจัดการศึกษาสายอาชีพนั้น มิใช่ให้แต่สาระหรือทักษะเพื่อการประกอบอาชีพแต่เพียงอย่างเดียว ต้องเสริมสร้างเรื่อง คุณธรรม จริยธรรมเข้าไปด้วย โดยอาจแทรกไปในกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้เรียนที่มีความคิดเป็นเหตุเป็นผล วางแผนได้ แก้ปัญหาเป็น มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ก็คือ แก่นแท้ของการศึกษา ที่ไม่มีวันล้าสมัย และหนักแน่ดุจผาหิน

(ต่อ)สรุปตอนที่ 1 สาระเบื้องต้นของอาชีวศึกษา

บทที่3  วิวัฒนาการของอาชีวศึกษา

   การอาชีวศึกษาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นการจัดการศึกษาที่ยังไม่เป็นระบบ ส่วนใหญ่ศึกษาตามวัด วัง และบ้าน เป็นการศึกษาที่ไม่มีบทเรียน แต่เน้นการใช้ประสบการณ์(Experential Learning) และการสืบทอดจากรุ่นลูกจนถึงรุ่นหลาน และมีการปรับเปลี่ยนอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการศึกาาให้เข้าสู่ระบบ การอาชีวศึกษาจึงได้จัดขึ้นเป็นระบบตามแผนการศึกษาแห่งชาติ และมีการพัฒนา ให้ความสำคัญเมื่อเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 1-9 โดยเฉพาะฉบับที่ 9 เป็นการเน้นการสร้างอาชีพเพื่อการดำรงชีพและยกระดับฐานะในสังคมต่อไป    นอกจากนี้ การอาชีวศึกษาในแต่ละสมัยนั้นแต่งต่างกันออกไป เช่น
-สมัยสุโขทัย จะได้เรียนรู้มาจากครอบครัว ครอบครัวประกอบอาชีพใด ลูกหลานก็จะมีความรู้ในเรื่องนั้นและประกอบอาชีพนั้นตามไปด้วย
- สมัยกรุงธนบุรี สมัยนี้เน้นเกี่ยวกับการปกป้องประเทศมากกว่า ไม่นิยมสนใจในเรื่องของอาชีพมากนัก -- สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  สมัยนี้การอาชีวศึกษาไม่ได้แยกออกมาอย่างเด่นชัดมากนัก แต่เป็นการเรียนหนังสือกับการสอนวิชาเพื่อประกอบอาชีพควบคู่กันไป โดยมีกษัตริย์เป็นผู้สนับสนุน
-สมัยรัชกาลที่5 ภายหลังการเปลี่ยนแปลง-ปัจจุบัน   มีการเรียนการสอนในขั้นเตรียมอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย โดยที่การอาชีวศึกษาก็ได้มีการจัดการเรียนการสอนในขั้นอุดมศึกษาด้วย 
   -ปัจจุบัน การปกครอง โดยคณะราษฎร์ ได้พูดถึง ประกาศหลัก6 ประการเป็นการบริหารประเทศ จากแผนการศึกษา พ.ศ.2548 มีการเรียนการสอนในขั้นเตรียมอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยโดยที่การอาชีวศึกษาก็ได้มีการจัดการเรียนการสอนในขั้นอุดมศึกษานี้ด้วย

  
                                                                                                                                                                                                                                                                   
บทที่4  หลักการและทฤษฎีของอาชีวศึกษา
หลักการอาชีวศึกษา
1.ความเป็นมนุษย์มากกว่าทักษะแบบเครื่องจักรกล
2.ความเชื่อมโยงระหว่างวิชาชีพกับวิชาพื้นฐาน
3.ความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ
4.โอกาสของการเปลี่ยนสาขาหรือการศึกษาต่อ


ทฤษฎีอาชีวศึกษาของ Prosser และ Quigley
1. จัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนให้เหมือนกับสถานที่ทำงานจริง
2.สอนกระบวนการ การใช้เครื่องมือและเครื่องจักร ให้เหมือนกับที่ใช้ในการทำงานจริง และผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในการทำงานนั้นมาก่อน
3.ฝึกฝนให้ผู้เรียนมีอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ และมีทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมกับแต่ ละสาขาอาชีพ โดยควรคำนึงถึงระยะเวลาในการฝึกฝนที่เพียงพอกับการสร้างอุปนิสัยดังกล่าว
4.คำนึงถึงความสนใจ ความถนัด เชาว์ปัญญาของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพของ ตนเองได้สูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน
5. ควรมุ่งเฉพาะกลุ่มผู้สนใจจริง หรือกลุ่มผู้ที่มีความสามารถใช้วิชาชีพนั้นๆ ที่ได้เรียนมาในการพัฒนางานอาชีพของตนเองได้
6.ฝึกฝนทักษะอาชีพบ่อยๆ และมากเพียงพอที่จะสร้างอุปนิสัยการคิดแก้ปัญหา และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในสายงานอาชีพ
7. ผู้สอนควรมีประสบการณ์การทำงานจริงมาก่อนในสาขาอาชีพที่ตนสอน ทั้งด้านทักษะการปฏิบัติ และความรู้
8. สามารถสร้างคนให้มีความสามารถ บุคลิกภาพ และคุณธรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของนายจ้างและตลาดแรงงานบทที่ 2 ระบบสารสนเทศในองค์กร 35
9. คำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและชุมชนเป็นหลัก ถึงแม้ว่าการฝึกอบรมอาชีพบางประเภทจะมีความน่าสนใจ
10.ฝึกฝนทักษะวิชาชีพให้กับผู้เรียนอาชีวศึกษาตามสภาพที่เป็นจริง
11.ให้ข้อมูล ความรู้ที่เชื่อถือได้สำหรับการฝึกฝนอาชีพ และต้องมาจากประสบการณ์ของผู้รอบรู้ในอาชีพนั้น ๆ เท่านั้น
12. ควรคำนึงถึงเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่นำมาสอน ต้องให้สอดคล้องและใช้ประโยชน์ได้ในสาขาอาชีพนั้น ๆ เนื่องจากในทุก ๆ สาขาอาชีพต่างมีเนื้อหาความรู้เฉพาะ
13. ควรจัดการศึกษาให้ตรงกับตามความต้องการของแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มในช่วงเวลาที่เขาต้องการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ทันต่อความ ต้องการ ซึ่งจะส่งผลดีโดยรวมต่อสังคม
14.ควรให้ความสำคัญกับความสนใจ ความถนัด และความสามารถของแต่ ละคน ที่เหมาะสมกับการเรียนในแต่ ละสาขาอาชีพ มากกว่าระดับคะแนน หรือระดับไอคิวของผู้เรียน และควรมีกระบวนการแนะแนวที่เหมาะสม
15.ควรมีความยืดหยุ่นสำหรับโครงสร้างของเนื้อหาหลักสูตร และการสอน ไม่ควรยึดโครงสร้างที่ตายตัวและไม่ ปรับตัว เพราะสาขาอาชีพและเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
16.ควรมีความพร้อมของงบประมาณที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาเนื่องจากต้องใช้ต้นทุน ต่อหัวของผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมาก และเน้นผลิตคนให้มีคุณภาพ มิฉะนั้นจะเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า


14 มกราคม 2555

สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-11

ฉบับที่ 1 พ.ศ.2504-2509
-เน้นเฉพาะด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการลงทุนใน สิ่งก่อสร้างขั้นพื้นฐานในรูปแบบของระบบคมนาคมและ ขนส่ง ระบบเขื่อนเพื่อการชลประทานและพลังงานไฟฟ้า สาธารณูปการ ฯลฯ รัฐทุ่มเททรัพยากรเข้าไปเพื่อการปู พื้นฐานให้มีการลงทุนในด้านเอกชนเป็นหลัก


ฉบับที่ 2 พ.ศ.2510-2514
-ยึดแนวทางแผน 1 โดยขยายขอบเขตของแผนให้ครอบคลุม ถึงการพัฒนาของรัฐ โดยสมบูรณ์กระจายให้บังเกิดผลไปทั่ว ประเทศ เน้นเขตทุรกันดารและห่างไกลความเจริญ และมี โครงการ พิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่ปกติของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาภาค โครงการเร่งรัด พัฒนาชนบทและโครงการช่วยเหลือชาวนา ฯลฯ


ฉบับที่ 3 พ.ศ.2515-2519
-รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยรักษาอัตราการขยายตัวของปริมาณเงินตรา, รักษาระดับราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ, รักษาเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศ, ส่งเสริมการส่งออก, ปรับปรุงโครงสร้างการนำเข้า
-ปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและยกระดับการผลิต เร่งรัดการส่งออกและทดแทนสินค้านำเข้า ปรับงบลงทุนในโครงการก่อสร้างมาสนับสนุนการลงทุนเพื่อใช้ประโยชน์จากโครงการขั้นพื้นฐานที่มีอยู่
-กระจายรายได้และบริการทางสังคม โดยลดอัตราการเพิ่มประชากร กระจายบริการเศรษฐกิจและสังคมสู่ชนบท ปรับปรุงสถาบันและองค์กรทางด้านเกษตรและสินเชื่อ รักษาระดับราคาสินค้าเกษตร


ฉบับที่ 4 พ.ศ.2520-2524
-เน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยมุ่งขยายการผลิต สาขาเกษตร, ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่ง ออก, กระจายรายได้และการมีงานทำในภูมิภาค, มาตรการ กระตุ้นอุตสาหกรรมที่ซบเซา, รักษาดุลการชำระเงินและการ ขาดดุลงบประมาณ
-เร่งบูรณะและปรับปรุงการบริหารทรัพยากรหลักของชาติ รวมทั้งการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ โดยเฉพาะที่ดิน แหล่งน้ำ ป่าไม้และแหล่งแร่, เร่งรัดการปฏิรูปที่ดิน, จัดสรร แหล่งน้ำในประเทศ, อนุรักษ์ทะเลหลวง, สำรวจและพัฒนา แหล่งพลังงานในอ่าวไทยและภาคใต้ฝั่งตะวันออก


 ฉบับที่ 5 พ.ศ.2525-2529
-ยึดพื้นที่เป็นหลักในการวางแผน กำหนดแผนงานและโครง การให้มีผลทางปฏิบัติทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น พื้นที่ เป้าหมายเพื่อพัฒนาชนบท พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก พื้น ที่เมืองหลัก ฯลฯ
-เน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงินของประเทศ เป็นพิเศษโดยการเร่งระดมเงินออม, สร้างวินัยทางเศรษฐกิจ การเงิน และการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น ปรับ โครงสร้างการเกษตร ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อการส่ง ออกและกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ส่วนภูมิภาค, ปรับโครง สร้างการค้าต่างประเทศ และบริการ, ปรับโครงสร้างการผลิต และการใช้พลังงาน ฯลฯ
- เน้นความสมดุลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศ
-เน้นการแก้ปัญหาความยากจนในชนบทล้าหลัง กำหนดพื้นที่ เป้าหมาย 286 อำเภอและกิ่งอำเภอ
-เน้นการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติเช่นมีระบบการบริหารการ พัฒนาชนบทแนวใหม่ประกาศใช้ พ.ศ. 2527
-เน้นบทบาทและการระดมความร่วมมือจากภาคเอกชน


ฉบับที่ 6 พ.ศ.2530-2534
-เน้นการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพของการเงินการคลัง โดยเน้นการระดมเงินออมในประเทศ เน้นการใช้จ่ายภาครัฐอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ และเน้นบทบาทภาคเอกชนในการพัฒนา
-เน้นการพัฒนาฝีมือแรงงานและคุณภาพชีวิต
-เน้นการเพิ่มบทบาทองค์กรประชาชนในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-เริ่มแผนหลักการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-ทบทวนบทบาทรัฐในการพัฒนาประเทศ
- มีแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ
- มุ่งปรับโครงสร้างการผลิตและการตลาดของประเทศให้กระจายตัวมากขึ้น
-เน้นการนำบริการพื้นฐานที่มีอยู่แล้วมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
-พัฒนาเมืองและพื้นที่เฉพาะ กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค
- ขยายขอบเขตพัฒนาชนบทครอบคลุมทั่วประเทศ เขตล้าหลัง 5,787 หมู่บ้าน เขตปานกลาง 35,514 หมู่บ้าน และเขตก้าวหน้า 11,612 หมู่บ้าน


ฉบับที่ 7 พ.ศ.2535-2539
-เน้นการรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และมีเสถียรภาพ
-เน้นการกระจายรายได้ และการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบท
- เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม
- เน้นการพัฒนากฎหมาย รัฐวิสาหกิจ และระบบราชการ


ฉบับที่ 8 พ.ศ.2540-2544
เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการวางแผนพัฒนาประเทศที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม และมุ่งให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” และใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นพร้อมทั้ง ปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาแบบแยกส่วนมาเป็นบูรณาการแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามในปีแรกของแผนฯ ประเทศไทยต้อง ประสบวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรง และส่งผลกระทบต่อคนและสังคมเป็นอย่างมาก จึงต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพมั่นคง และลดผลกระทบจากวิกฤตที่ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานและความยากจนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
-การพัฒนาศักยภาพของคน
- การพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคน
-การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบทเพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง
- การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนา คนและคุณภาพชีวิต
-การจัดหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-การพัฒนาประชารัฐ เป็นการพัฒนาภาครัฐให้มีสมรรถนะ และพันธกิจหลักในการเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถนะ ของคนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
-การบริหารจัดการเพื่อให้มีการนำแผนพัฒนาฯไปดำเนินการ ให้เกิดผลในทางปฏิบัติด้วยแนวทางการแปลงแผนไปสู่การ ปฏิบัติ


ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549)
- เป็นแผนที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ ได้อัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ ควบคู่ไปกับกระบวนทรรศน์การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยยึดหลักทางสายกลาง เพื่อให้ประเทศรอดพ้นจากวิกฤต สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และสถานการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ผลการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สรุปได้ว่า ประสบความสำเร็จที่น่าพอใจ เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี เสถียรภาพทางเศรษฐกิจปรับตัวสู่ความมั่นคง ความยากจนลดลง ขณะเดียวกันระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นมาก อันเนื่องมาจากการดำเนินการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยการมีหลักประกันสุขภาพที่ มีการปรับปรุงทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดยครอบคลุมคนส่วนใหญ่ของประเทศ และการลดลงของปัญหายาเสพติด
วัตถุประสงค์
(1) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกัน
(2) เพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง ยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองได้อย่างรู้เท่าทันโลก
(3) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ
(4) เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเอง
ลำดับความสำคัญของการพัฒนา
1. การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ
2. การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
3. การบรรเทาปัญหาสังคม
4. การแก้ปัญหาความยากจน


ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554)
- ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบท ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้มีภูมิคุ้มกัน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยยังคงอัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และให้ความสำคัญต่อการรวมพลังสังคมจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมดำเนินการใน ทุกขั้นตอนของแผนฯ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่อง


ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2558
- ตามวิสัยทัศน์ 3 พันธกิจ 3 วัตถุประสงค์ 4 เป้าหมายหลัก และ 7 ยุทธศาสตร์ ตามการศึกษาจากบริบทตลอดจนจุดแข็ง จุดอ่อนโอกาสและภัยคุกคามของประเทศไทย
วิสัยทัศน์ "ประเทศมีความมั่นคงเป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง"
3 พันธกิจ ได้แก่ การพัฒนาฐานการผลิตและบริการ การสร้างความเป็นธรรมและ ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม และสร้างภูมิคุ้มกันจากวิกฤตการณ์
3 วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน คนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และพร้อมเชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นสุข
4 เป้าหมายหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งสมดุล ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น มีหลักประกันสังคมที่ทั่วถึง และสังคมไทยมีความสุขอย่างมีธรรมาภิบาล
7 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็ง สมดุล อย่างสร้างสรรค์ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต การค้า การลงทุน การพัฒนาคุณภาพคน ทั้งความรู้คู่คุณธรรม สังคม มั่นคงเป็นธรรม มีพลังและเอื้ออาทร เน้นการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงของพลังงานและอาหาร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

จะเห็นได้ว่า แผนฉบับที่ 11 นั้น เน้นการ "ตั้งรับ" มากกว่า "รุก" โดยเน้นการป้องกันปัญหาจากวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะเราเพิ่งผ่านวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลก และวิกฤตการณ์ทางการเมืองภายในประเทศมาหมาดๆ
การเน้น "ภูมิคุ้มกัน" นั้นเป็นเพียงเป้าหมายขั้นต่ำเหมือนคนที่ปลอดโรค เพราะมีภูมิต้านทานโรค แต่ไม่ได้บอกว่าสุขภาพแข็งแรงมีกำลังวังชาดีเพียงไร เชื่อว่าพวกเราไม่ได้ต้องการเพียงให้ประชาชนพอมีกินประชาชนควรจะ "กินดีอยู่ดี" และมี "คุณภาพชีวิต" ที่ดีขึ้นกว่าเดิม อีกนัยหนึ่ง ผลโดยรวมประเทศไม่ควรมีสถานะเพียงเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศอาเซียนด้วยกันหรือเพียงแต่ดีกว่า พม่า ลาว กัมพูชา บ้าง แต่เราควรจะตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยมีความ "มั่งคั่ง" อยู่ในชั้นแนวหน้าของอาเซียน ที่จะแข่งขันกับประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ได้ และตัวอย่างที่ดีๆ ของประเทศนอกอาเซียนอื่นๆ เช่น เกาหลี และจีน เป็นต้น

13 มกราคม 2555

13-1-2012

     วันนี้ได้นำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากหนังสือหลักอาชีวศึกษา ของ รศ.ดร.พนิต เข็มทอง รวมถึงเรียนรู้เรื่องการสร้าง Blog ในการบันทึกการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง ตลอดจนพูดคุยถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 10 และ 11 รวมถึงอาจารย์ได้ให้ไปค้นคว้าเพิ่มเติมสรุปประเด็นสำคัญเกี่่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ฉบับที่ 1-11